Content

คำถามคำตอบ 15 ข้อเกี่ยวกับการศึกษาในเยอรมนี

Skatepark and skyline Frankfurt © gettyimages/Dennis Fischer

 

  • คุณสามารถศึกษาระดับปริญญาตรีในเยอรมนีได้ถ้าประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายของคุณเทียบเท่ามาตรฐานวุฒิเยอรมัน (Abitur) ในกรณีที่ไม่เทียบเท่าคุณจะต้องการผ่านการสอบ Assessment Test (Feststellungsprüfung) เพื่อพิสูจน์ว่าคุณมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะศึกษาต่อที่เยอรมนี ส่วนใหญ่ผู้ที่จะสอบผ่าน Assessment Test ได้จะต้องเข้าเรียนในโรงเรียนปรับพื้นฐาน Studienkolleg ก่อนเป็นเวลาหนึ่งปี
  • ถ้าคุณวางแผนศึกษาต่อระดับปริญญาโทหรือหลักสูตรเสริมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ปริญญาใบแรกคุณจะต้องมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขตามที่หลักสูตรกำหนดเอาไว้
  • หากคุณต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่เยอรมนี คุณจะต้องจบการศึกษาระดับปริญญาโท หรือเทียบเท่า ซึ่งมีมาตรฐานเทียบเท่ากับเยอรมัน โดยมหาวิทยาลัยที่คุณต้องการเข้าศึกษาต่อจะเป็นผู้พิจารณาคุณจึงควรติดต่อกับสถาบันนั้น ๆ โดยตรง

เยอรมนีมีสถาบันระดับอุดมศึกษากระจายอยู่ทั่วประเทศทั้งหมดถึง 427 แห่ง คุณสามารถเลือกเรียนได้จากสถาบันอุดมศึกษาประเภทต่างๆดังนี้

  • มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเทคนิค (Universities / Technical Univerisities) มีจำนวน 107 แห่ง มีจำนวนนักศึกษาประมาณ 1.7 ล้านคน
  • มหาวิทยาลัยเน้นภาคปฏิบัติ (Univeresities of Applied Sciences) มี 246 แห่งมีนักศึกษาอยู่ประมาณ 930,000 คน
  • วิทยาลัยด้านการดนตรี ศิลปะและภาพยนตร์ มี 52 แห่ง มีนักศึกษาประมาณ 35,000 คน

นอกจากนี้จากมีวิทยาลัยครู อีก 6 แห่งและวิทยาลัยศาสนา อีก 16 แห่ง

ที่มา www.study-in.de

ก่อนหน้านี้จนถึงปี ค.ศ.2009/10 วุฒิการศึกษามาตรฐานของมหาวิทยาลัยในเยอรมนี คือ Diplom เช่น “Diplom-Ingenieur“ สำหรับผู้จบทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ “Magister Artrium“ (MA) สำหรับผู้จบทางด้านมนุษยศาสตร์ และ “Staatsexamen” ซึ่งเป็นวุฒิสำหรับการศึกษาทางด้านวิชาเฉพาะเพื่อประกอบอาชีพที่อยู่ภายใต้การควาบคุมของรัฐ เช่น ด้านกฎหมาย แพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งวุฒิดังกล่าวจะเป็นวุฒิที่มีลักษณะเฉพาะและไม่สามารถนำมาเทียบกับวุฒิจากประเทศอื่น ๆ ได้เสมอไป

ปี ค.ศ. 2010 หลังจากที่มีปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาตามข้อตกลงการปรับวุฒิการศึกษาของมหาวิทยาลัยในยุโรปให้เป็นมาตรฐานเดียวกันหมดตาม Bologna Process มหาวิทยาลัยในเยอรมันจึงมีการมอบวุฒิการศึกษาแบบสากลในระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท ในหลาย ๆ หลักสูตร ปัจจุบันนี้นักศึกษาต่างชาติสามารถเลือกเรียนได้หลากหลายและวุฒิปริญญาตรี โท จากเยอรมนีก็ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศทั่วโลก

โดยทั่วไปภาษาที่ใช้สอนที่มหาวิทยาลัยจะเป็นภาษาเยอรมัน แต่สำหรับหลักสูตรนานาชาติบางหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ผู้สมัครก็ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ภาษาเยอรมัน โปรดสอบถามกับหลักสูตรที่คุณเลือกให้แน่นอนเกี่ยวกับเงื่อนไขด้านภาษาที่คุณต้องเตรียมพร้อมก่อนเข้าศึกษาต่อในสาขาที่ต้องการ

ถ้าคุณต้องการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโทที่สอนด้วยภาษาเยอรมัน คุณจำเป็นจะต้องผ่านการทดสอบความรู้ภาษาเยอรมันก่อน TestDAF คือมาตรฐานการทดสอบทางภาษาที่มีรูปแบบคล้าย ๆ การสอบ TOEFL จัดเตรียมไว้เพื่อทดสอบความรู้ภาษาเยอรมันของผู้สมัครต่างชาติ สามารถสมัครสอบได้ตามศูนย์สอบในประเทศของตน ผู้สมัครจะต้องสอบผ่าน TestDaf 4 เพื่อรับรองว่ามีความชำนาญทางภาษาเยอรมันพอที่ศึกษาต่อได้ การสอบภาษาเยอรมันอีกแบบคือ DSH (Deutsche Sprachprüfung für den Hochschulzugang ausländischer Studienbewerber) เป็นการสอบวัดระดับภาษาเยอรมันสำหรับนักศึกษาต่างชาติโดยจัดสอบที่มหาวิทยาลัยประเทศเยอรมนีเท่านั้น

สำหรับหลักสูตรภาษาอังกฤษ ผู้สมัครสามารถใช้ประกาศนียบัตรหรือผลคะแนนสอบ IELTS หรือ TOEFL ยื่นกับทางหลักสูตร แต่ละหลักสูตรอาจกำหนดคะแนนการสอบต่างกันไป โปรดสอบถามไปที่หลักสูตรโดยตรงว่าต้องการคะแนนภาษาอังกฤษเท่าไร

โดยรวมแล้วคุณภาพของมหาวิทยาลัยในเยอรมนีมีระดับมาตรฐานที่เสมอกัน แต่ถ้าคุณอยากทราบว่ามหาวิทยาลัยไหนเสนอหลักสูตรที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณมากที่สุด คุณควรเริ่มค้นหาจากเป้าหมายที่แน่นอนว่า อะไรคือสิ่งที่คุณต้องการศึกษา

จากนั้นคุณอาจใช้ประโยชน์จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย CHE (Center for Higher Education Development) ซึ่งจะแสดงสาขาวิชาสำคัญต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง คุณสามารถเข้าไปดูได้ www.daad.de/deutschland/che-university-ranking

ในทางปฏิบัติมหาวิทยาลัยในเยอรมนีเปิดโอกาสให้มีการศึกษาระยะสั้น โดยจะระบุอยู่ในข้อตกลงของมหาวิทยาลัยที่ร่วมมือกันซึ่งมีเป็นจำนวนมาก เช่น การส่งนักศึกษาไปฝึกงานช่วงปิดภาคเรียน หรือการไปแลกเปลี่ยน  เป็นต้น ข้อแนะนำคือ นักศึกษาควรสอบถามกับทางมหาวิทยาลัยที่ศึกษาอยู่ว่ามีความร่วมมือเช่นนี้กับทางมหาวิทยาลัยในเยอรมนีบ้างหรือไม่

นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยในเยอรมนีจำนวนมากที่เปิดสอนหลักสูตรระยะสั้นภาคฤดูร้อน นอกจากการเปิดสอนภาษาเยอรมัน วรรณคดีและภูมิศาสตร์ประเทศเยอรมันแล้ว ยังการเปิดหลักสูตรสาขาวิชาอื่น ๆ ให้หลากหลายมากขึ้นอยู่ตลอดเวลา เช่น ด้านดนตรี ศิลปะ การจัดการ การแพทย์ ฯลฯ หากต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ www.summerschools.de

มหาวิทยาลัยประมาณ 110 แห่งในเยอรมนีเสนอการศึกษาในระดับปริญญาเอก วิธีที่ดีที่สุดในการค้นหาว่ามีหลักสูตรใดเปิดสอนที่มหาวิทยาลัยไหนบ้าง คือการเข้าไปศึกษาข้อมูลจากเว็บไซต์ www.research-in-germany.org

การศึกษาตามแบบพื้นฐานเดิม “Traditional/Individual Doctoral Studies

การวางแผนงานวิจัยหรือการทำวิทยานิพนธ์อย่างละเอียดถี่ถ้วนคือแก่นสำคัญของการทำปริญญาเอกแบบนี้ นักศึกษาจะตกลงเลือกหัวข้องานวิจัยกับอาจารย์ที่ปรึกษา (Doktorvater หรือ Doktormutter) แล้วจึงเริ่มทำงานวิจัยหรือทำวิทยานิพนธ์ของตนเอง แยกออกมาเป็นผลงานอิสระ

คุณควรพยายามใช้อินเตอร์เน็ต และอีเมล์ เพื่อค้นหาและติดต่อกับอาจารย์ที่ปรึกษา เมื่อคุณได้อาจารย์ที่ปรึกษาสำหรับทำวิทยานิพนธ์แล้ว คุณก็จะต้องลงทะเบียนเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยนั้น ๆ และอาจเข้าเรียนเฉพาะวิชาที่กำหนด โปรดสอบถามทันทีว่าระดับการศึกษาของคุณ มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะศึกษาต่อระดับปริญญาเอกหรือไม่

การศึกษาตามหลักสูตรที่จัดไว้ “Structured PhD Programme

ปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยในเยอรมนีเสนอหลักสูตรปริญญาเอกรวมทั้งหมดมากกว่า 700 หลักสูตร โดยในจำนวนนี้เป็นหลักสูตรนานาชาติมากกว่า 300 หลักสูตร ปัจจุบันมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้จัดทำหลักสูตรเพิ่มขึ้นสำหรับนักศึกษาต่างชาติที่สนใจเรียนต่อระดับปริญญาเอก เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการโดยเริ่มจากการเตรียมการขั้นต้น คือการแนะแนวการศึกษาและให้คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเกี่ยวกับเงื่อนไขในการวิจัยที่เอื้อประโยชน์ต่อนักศึกษาต่างชาติมากขึ้น เช่น การให้นักศึกษาทำวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ได้ ตลอดจนการเสริมความรู้ภาษาเยอรมันเข้าไปในหลักสูตร ซึ่งจะช่วยลดปัญหาทางภาษาของนักศึกษาได้

ข้อมูลมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาเอก ค้นหาได้ในเว็บไซต์ www.daad.de/idp

ผู้ที่ต้องการไปศึกษาต่อในประเทศเยอรมนีที่มีสัญชาติไทยจะต้องขอวีซ่าในการเข้าประเทศเยอรมนีที่สถานทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย โดยจะต้องยื่นคำร้องขอวีซ่าประเภท National Visa ซึ่งเป็นวีซ่าสำหรับการเข้าเยอรมนีเพื่อการพำนักระยะยาว (มากกว่า 90 วัน)

วีซ่าเชงเกน (Schengen Visum) ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นใบอนุญาตพำนัก (Aufenthaltserlaubnis) ได้

นอกจากหลักฐานเอกสารตอบรับจากสถาบันการศึกษาหรือการจองคอร์สเรียนภาษาจากโรงเรียนภาษาแล้ว ยังมีหลักฐานที่จะต้องแสดงในการยื่นคำร้องขอวีซ่า เช่น หลักฐานทางการเงิน ซึ่งผู้ยื่นคำร้องสามารถแสดงโดยใช้หลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีแบบ blocked account และเอกสารอื่น ๆ สามารถดูรายละเอียดได้ในเว็บไซต์ของสถานทูตฯ  http://www.bangkok.diplo.de/

ทั้งนี้ การดำเนินการในการยื่นคำร้องขอวีซ่าอาจใช้เวลารวมตั้งแต่การเตรียมเอกสารถึง 6-10 สัปดาห์ ดังนั้นเมื่อเตรีมเอกสารครบแล้ว ควรรีบดำเนินการยื่นคำร้อง ปัจจุบันการนัดหมายเพื่อยื่นคำร้องสามารถทำได้โดยผ่านระบบออนไลน์ของสถานทูตฯ เท่านั้น

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

สถานทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย

จันทร์ –ศุกร์  ระหว่าง 8.30 –11.30 น.

ที่อยู่ 9 ถนนสาทรใต้ กรุงเทพฯ  10120

โทรศัพท์: 02 287 9000

http://www.bangkok.diplo.de/ 

มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากรัฐบาลแต่จะมีมหาวิทยาลัยในบางรัฐของเยอรมนีที่มีการเก็บค่าเล่าเรียนบ้าง ขณะที่บางแห่งอาจเรียกเก็บค่าเล่าเรียนเฉพาะในบางหลักสูตร หรือในระบบการศึกษาทางไกล หรือจากนักศึกษาที่เรียนนานเกินกว่าที่หลักสูตรกำหนด ส่วนการศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชน นักศึกษาต้องเสียค่าเล่าเรียนทั้งหมดเอง

ค้นหารายละเอียดได้ที่ www.daad.de/deutschland/nach-deutschland/voraussetzungen/en

ข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องเกี่ยวกับค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งคุณต้องเตรียมตั้งงบประมาณไว้ เช่น ค่าธรรมเนียมลงทะเบียนต่อภาคการศึกษา ค่าตั๋วรถโดยสาร ค่าธรรมเนียมการจัดการ สามารถดูได้จากเว็บไซต์ www.study-in.de/en/plan-your-stay/money-and-costs/

ค่าใช้จ่ายซึ่งรวมถึงค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้า ค่าซักรีด ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดูแลสุขลักษณะ การเดินทาง อุปกรณ์การศึกษา และสำหรับการประกันสุขภาพ ค่าโทรศัพท์ ค่าใช้จ่ายในกิจกรรมยามว่างต่าง ๆ ทั้งหมดโดยประมาณอยู่ระหว่าง 800 – 900 ยูโรต่อเดือน

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายรายเดือนโดยเฉลี่ยของนักศึกษาต่างชาติ

ค่าที่พัก 250 – 350   ยูโร
ค่าประกันสุขภาพ (สำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 30 ปี) 85   ยูโร
ค่าอาหาร 110 – 165   ยูโร
ค่าเสื้อผ้า 55   ยูโร
ค่าเดินทาง 85   ยูโร
ค่าอุปกรณ์การศึกษา 30   ยูโร
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต หรือกิจกรรมยามว่าง 100   ยูโร
– เฉลี่ยค่าใช้จ่ายต่อคน
เดือนละ 800 – 900   ยูโร
ปีละ 9,600 – 10,800   ยูโร

ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายของแต่ละบุคคล อาจแตกต่างกันไป เช่น ถ้าอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ เช่น มิวนิค หรือฮัมบวร์ก คุณก็จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าอยู่ในเมืองเล็ก ๆ

คุณสามารถขอคำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการเงิน การใช้ชีวิต การดูแลสุขภาพ และความรู้ทางวัฒนธรรมต่าง ๆ ได้จากกองบริการนักศึกษา หรือ Studentenwerk โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ www.internationale-studierende.de/en/prepare_your_studies/

ปกติแล้ว มหาวิทยาลัยเองจะไม่มีการให้ทุนการศึกษาหรือทุนวิจัย แต่ยังมีหลายองค์กรที่คุณสามารถขอทุนสนับสนุนในการศึกษาได้

องค์การแลกเปลี่ยนด้านวิชาการเยอรมนี (DAAD) มีโปรแกรมทุนสนับสนุนการศึกษาและการวิจัยให้แต่ละประเทศซึ่งทุนเหล่านี้ส่วนใหญ่มีให้กับอาจารย์ นักวิชาการ และนักศึกษาที่ใกล้จบหรือจบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาแล้ว ส่วนองค์กรอื่น ๆ มักตั้งเงื่อนไขเฉพาะทุนของตนแตกต่างกันไป ซึ่งส่วนใหญ่จะสนับสนุนให้ทุนเพียงบางส่วนเท่านั้น นอกเหนือจากการเข้าดูเรื่องทุนการศึกษาในฐานข้อมูลแล้ว คุณยังสามารถค้นหาที่อยู่ขององค์กรต่าง ๆ ที่ให้ทุนการศึกษาและทุนวิจัยได้ที่เว็บไซต์ www.funding-guide.de

ตามปกติแล้วมหาวิทยาลัยในเยอรมนีไม่มีหอพักภายในไว้บริการนักศึกษา ซึ่งหมายความว่าคุณต้องหาที่พักเอง ซึ่งอาจเป็นของรัฐหรือเอกชน โดยดูจากข้อมูลข่าวสารที่ประกาศไว้ตามกระดานปิดประกาศของมหาวิทยาลัย ที่กองบริการนักศึกษา (Studentenwerk) ตามชมรมหรือองค์กรนักศึกษา หรือที่สำนักงานนักศึกษาต่างชาติ (Akademisches Auslandsamt) หรือโดยการลงประกาศเล็ก ๆ เพื่อหาที่พักในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นซึ่งมักจะได้ผลเสมอ

แต่ถ้าคุณต้องการอยู่หอพักนักศึกษาซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ต้องการมาก เพราะราคาย่อมเยากว่าและเป็นของรัฐ คุณควรรีบติดต่อกับกองบริการนักศึกษาของมหาวิทยาลัยที่คุณเลือกและแจ้งความประสงค์ไว้แต่เนิ่น ๆ

คุณสามารถเข้าดูข้อมูลเพิ่มเติมของกองบริการนักศึกษา (Studentenwerk) ได้โดยผ่านทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยนั้น ๆ ถ้าคุณต้องการที่พักที่เป็นส่วนตัว คุณลองติดต่อที่ตัวแทนจัดหาที่พัก เช่น Mitwohnzentrale ส่วนการแบ่งห้องพักในบ้านเช่าหลังเดียวกัน (Wohngemeinschaften หรือคำย่อ WGs) ก็เป็นที่นิยมมากในหมู่นักศึกษาเยอรมัน

ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

นักศึกษาไทยที่ลงทะเบียนเรียนเป็นนักศึกษากับมหาวิทยาลัยในเยอรมนีเรียบร้อยแล้ว สามารถหางานพิเศษทำได้ในเวลาว่าง นักศึกษาได้รับอนุญาติให้ทำงานได้ 120 วันต่อปี หรือ 240 วันต่อปี(ในกรณีที่ทำงานครึ่งวัน) สำหรับการทำงานพิเศษที่เป็นตำแหน่งผู้ช่วยงานในมหาวิทยาลัย (wissenschaftliche Hilfskraft หรือ HiWi)นั้น มีข้อยกเว้นสามารถทำงานได้โดยไม่ถูกจำกัดระยะเวลา แต่ต้องแจ้งกับทางการ

การหางานพิเศษ อาจหาได้จากป้ายประกาศในมหาวิทยาลัยหรือตามที่ต่าง ๆ ที่เรียกว่า Schwarzes Brett หรือในประกาศหางานในเว็บไซต์ของชมรมนักศึกษาหรือในเมือง ในเมืองใหญ่อาจมีการแข่งขันในการหางานสูงกว่าเมืองเล็ก ค่าจ้างงานมักจะขึ้นอยู่กับหน้าที่ในการทำงานและค่าครองชีพของแต่ละเมือง นักศึกษาที่มีความสามารถในการสื่อสารภาษาเยอรมัน มีโอกาสได้งานและเลือกงานได้มากกว่านักศึกษาที่พูดได้เพียงภาษาอังกฤษ เพราะงานที่ต้องมีการติดต่อสื่อสารกับผู้คน ความรู้ภาษาเยอรมันเป็นสิ่งจำเป็น เช่น งานบริการในร้านอาหาร ในร้านขายของ เลี้ยงเด็ก ผู้ช่วยในสำนักงาน เป็นต้น นักศึกษาที่ยังสื่อสารภาษาเยอรมันได้ไม่คล่องนัก อาจหางานประเภทอื่น ๆ ได้ เช่น ผู้ช่วยในร้านอาหาร เป็นต้น

สำหรับการฝึกงาน หากการฝึกงานนั้น ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียน (หลักสูตรไม่ได้บังคับให้ฝึกงาน) จำนวนวันที่ฝึกงานก็จะถูกนับเข้าไปรวมกับวันทำงาน 120 วันด้วย แม้ว่าการฝึกงานนั้นจะไม่ได้รับค่าจ้างก็ตาม

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานพิเศษสำหรับนักศึกษาสามารถดูได้จากเว็บไซต์

นักศึกษาต่างชาติที่สำเร็จการศึกษาสามารถขอรับสิทธิขอพำนักเพื่ออยู่หางานที่เยอรมนีได้ถึง 18 เดือน ในระหว่างนี้ เมื่อได้งานที่ตรงกับความต้องการและวุฒิที่จบมา โดยมีสัญญาจ้างงานระยะยาวระบุรายได้ที่แน่นอนจากนายจ้างเป็นหลักฐาน จะมีสิทธิขอใบอนุญาตพำนักสำหรับแรงงานต่างชาติได้

รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้จากเว็บไซต์ www.make-it-in-germany.com/

คุณสามารถติดต่อขอคำแนะนำในการวางแผนการศึกษาในประเทศของคุณได้ดังต่อไปนี้ (คุณจะได้รับเอกสารของ DAAD อื่น ๆ ที่ให้ข้อมูลอย่างละเอียด):

  • ศูนย์บริการข้อมูล (ICs) และสาขาย่อยของ DAAD (ดูที่อยู่ได้ที่ www.daad.de/local)
  • ที่ปรึกษาและอาจารย์ของ DAAD ประจำมหาวิทยาลัย
  • สำหรับประเทศไทยติดต่อได้ที่ DAAD Information Centre Bangkok www.daad.or.th

ข้อมูลจากอินเตอร์เนต:

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาต่อในเยอรมนี:

หลักสูตร:

การยื่นขอวีซ่า:

www.auswaertiges-amt.de สำหรับประเทศไทย สถานทูตเยอรมัน http://www.bangkok.diplo.de/

ทุนและโครงการสนับสนุน:

www.funding-guide.de

เรียนภาษาเยอรมัน:

หรือที่สำนักงานใหญ่ DAAD ในกรุงบอนน์

 

โฆษณามหาวิทยาลัยเยอรมัน

Unlock Your Potential at THM University of Applied Sciences!

Are you ready to step into leading positions in the global job market? Pursue a Master of Science in Control, Computer and Communications Engineering (CCCE) at THM University of Applied Sciences!

เพิ่มเติม

Apply to the TUM Global Postdoc Fellowship at Technical University of ...

The TUM Global Postdoc Fellowship is a funding opportunity for external postdoctoral scientists who are currently residing abroad and would like to start their research at TUM.

เพิ่มเติม

Truly international – Study at ESB Business School!

Do you want to study in the heart of Germany, Europe’s strongest and most dynamic economy? Come to ESB Business School at Reutlingen University!

เพิ่มเติม

Study in Berlin - MBA & International Master’s Programmes

Study management in English. Improve your leadership skills. Gain digital know-how. Become part of an international student body. Benefit from many corporate activities, valuable career consultation a...

เพิ่มเติม
Hof Univerity

M.Sc. in Cross Cultural Nursing Practice

You have a bachelor's degree in nursing and would like to gain further qualifications without losing touch with your patients? If you also have basic German language skills, our Master in Cross Cultur...

เพิ่มเติม
Hof Univerity

Get future-ready: Master’s in Water Management or Sustainable Textiles

You hold a Bachelor in Engineering? You are looking for an additional qualification with social, environmental and economic relevance? Get future-ready with our hands-on Master’s programs in Sustainab...

เพิ่มเติม
1/6

ติดต่อ

  • DAAD Information Centre Bangkok

    18/1 ซอยเกอเธ่ ถนนสาทร 1 10120 กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์: +66 (0)82 259 2458 - 9
    อีเมล: infodaad-thailand.org

    Facebook: DAAD Thailand
    DAAD LINE Official 

    เวลาเปิดทำการ
    ท่านสามารถนัดหมายเพื่อปรึกษาข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ DAAD ได้ตามวันและเวลาทำการ

    ปรึกษาข้อมูลที่ออฟฟิศ 
    วันจันทร์ – วันอังคาร เวลา 10.00 – 12.00 น. และ 13.00 – 16.00 น.
    ปรึกษาข้อมูลทางออนไลน์ผ่าน Zoom 
    วันพุธ – วันพฤหัสบดี เวลา 10.00 – 12.00 น. และ 13.00 – 16.00 น.

     

ภาพบันทึกหน้าจอ แสดงที่ตั้งออฟฟิศ DAAD